ในการแข่งขันจักรยานไทม์ไทร์อัล ความเร็วจัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำเวลาที่ดี แต่อุปสรรคสำคัญที่นักปั่นทุกคนต้องเผชิญ ก็คือกระแสลมที่ไหลเข้ามาปะทะกับตัว จนเกิดเป็นแรงต้านอากาศที่ฉุดรั้งการเคลื่อนที่ให้ชะลอตัวลง ดังนั้นเมื่อนักปั่นใช้ความเร็วที่เพิ่มมากขึ้น ปริมาณของแรงต้านอากาศก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นทวีคูณเช่นกัน ดังนั้นเมื่อปั่นไปด้วยความเร็วที่เกินกว่า 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะส่งผลให้แรงต้านอากาศมีปริมาณที่สูงกว่าแรงต้านจากการหมุนของล้อ ซึ่งรวมถึงแรงเสียดทานในชิ้นส่วนกลไกต่างๆ มารวมกันเสียอีก
ฉะนั้นการจะรับมือกับแรงต้านอากาศได้นั้น ต้องอาศัยรูปทรงของจักรยานที่สมบูรณ์แบบ ตลอดจนการจัดท่านั่งและความคล่องตัวในการขับขี่ ซึ่ง BMC ได้พบหลักการที่จะช่วยคุณได้!
• Maximum velocity : การทำความเร็วสูงสุด
• Position-to-Perform : ตำแหน่งลักษณะการนั่งที่ให้ประสิทธิภาพในการขับขี่และความลู่ลมที่ดี
• Integrated aerodynamics system : ส่วนประกอบต่างๆ มีความกลมกลืน สนองต่อความ Aero
Aerodynamic
ในขณะที่อากาศผ่าน ทำให้เกิดแรงต้านของรูปทรงนั้นๆ รวมถึงแรงเสียดทานบนพื้นผิว (form and frictional drags) สังเกตได้จากความเร็วที่สูงขึ้น จะพบว่าแรงต้านอากาศ หรือความดันรอบๆ ผิววัตถุจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ในขณะที่แรงต้านการหมุนของล้อเพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ดังนั้นหากเราสามารถทำให้แรงต้านอากาศลดลงได้ ก็จะทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าเร็วขึ้น ด้วยการออกแรงเท่าเดิม
การปรับรูปทรงเพื่อลดแรงต้าน:
- พื้นที่หน้าตัด
- ลักษณะรูปทรงของท่อ
- ความกลมกลืนของส่วนประกอบต่างๆ รวมถึงตำแหน่งและท่าทางการนั่ง
การปรับแต่งพื้นผิวเพื่อลดแรงต้าน:
- ความเรียบของพื้นผิว
- การลดการแยกชั้นของกระแสลม
p2p (Position-to-Perform)
ใน 70 % – 90% ของแรงต้านอากาศ มักจะเกิดขึ้นกับนักปั่นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะลดแรงต้านอากาศลง สามารถทำได้ด้วยการจัดตำแหน่งท่านั่งให้เหมาะสมเพื่อลดพื้นที่หน้าตัด และให้ได้สรีระที่มีประสิทธิภาพต่อการลู่ลมที่ดี ด้วยการออกแบบและปรับตำแหน่งของอานและค็อกพิท ให้มีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน (Integrated) เพื่อยับยั้งการเกิดแรงต้านอากาศที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถมอบความสบายให้กับนักปั่นได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย
sub A
คือกุญแจสำคัญในการออกแบบจักรยานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อความแอโรไดนามิก ด้วยการลดทอนชิ้นส่วนที่มีโอกาสสัมผัสกับอากาศโดยตรง ดังนี้:
- การปรับรูปทรงของท่อให้สอดรับกับหลักแอโรไดนามิก ด้วยการออกแบบรูปทรงที่ลดพื้นที่หน้าตัดโดยเฉพาะบริเวณส่วนหน้าของจักรยาน
- การเก็บซ่อนส่วนประกอบต่างๆให้มีความกลมกลืน (Integrated) ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเต็มรูปแบบ
- การดีไซน์ส่วนประกอบในตำแหน่งของผู้ขับขี่ให้ส่งผลต่อการลู่ลมเป็นพิเศษ อาทิเช่น V-Cockpit และ Flat Cockpit
ที่มา : https://www.bmc-switzerland.com/us-en/innovation/vmax-beat-the-enemy/
Share :