ทำไมต้องเป็นขอบล้อหน้ากว้าง
เราสามารถอธิบายได้ดังนี้
ขอบล้อที่กว้างขึ้นจะ Support ยางได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งช่วยให้แรงดันต่ำลง และทำให้มีแรงต้านทานการหมุน ( Rolling Resistance)
น้อยลงได้บนเส้นทางที่ขรุขระ
ความกว้างภายใน 30 มม. (30 MM
INNER WIDTH LESS ROLLING RESISTANCE)
แรงเสียดทานการหมุนน้อยกว่า
ล้อ Cross Country ถูกสร้างมาเพื่อให้การขับขี่ที่รวดเร็ว และต้องสามารถช่วยลดความต้านทานการหมุนของล้อได้บนเส้นทางที่ขรุขระ
สามารถสร้างความต้านทานการหมุนของล้อได้มากถึง 69% ของการต้านทานทั้งหมด
ความต้านทานการหมุนของล้อถูกกำหนดเป็น:
ค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานการหมุน x น้ำหนัก x ความเร่งโน้มถ่วง
ค่าสัมประสิทธิ์จะถูกกำหนดโดย สัมประสิทธิ์ความเสียดทานการหมุน x น้ำหนัก x ความเร่งโน้มถ่วง
ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์จะถูกกำหนดโดย ขนาดของล้อ ประเภทของยาง ลักษณะของยาง
แรงดันลมของยาง และพื้นดิน
ในขณะที่ปัจจัยส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้รับอิทธิพลจากล้อมีผลกับการหมุนของล้อ
แต่เราสามารถปรับการหมุนของยางได้ (Tire Support) ได้
ขอบล้อที่กว้างขึ้นจะช่วย Support ยางได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งช่วยให้แรงดันต่ำลงและทำให้ความต้านทานการหมุนน้อยลงในขณะที่ปั่นนจักรยานบนเส้นทางที่ขรุขระ
ปรับระดับการ Support ยางให้ดียิ่งขึ้น (HIGHER TIRE
SUPPORT)
ช่วยให้แรงดันลมยางต่ำลง (Allowing Lower Pressure)
ในระหว่างการเข้าโค้ง แรงด้านข้าง (Lateral Forces) จะเกิดขึ้นซึ่งกระทำต่อยาง
หน้าสัมผัสของยางจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงด้านข้าง
ในระหว่างการเข้าโค้ง
ยางจะกระทบกับแรงที่เข้ามาจู่โจมจากด้านข้าง
Contact patch (ผิวสัมผัส)
คือส่วนที่ยางสัมผัสกับพื้น
จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงที่เข้ามากระทำจากด้านข้าง
ดังนั้นเมื่อเข้าโค้งด้วยขอบล้อที่มีความแคบ ส่วนของ Contact patch จะเลื่อนออกด้านข้าง ทำให้ไม่ถูกซัพพอร์ตจากขอบล้อ ส่งผลให้การขับขี่ไม่มีความความเสถียร
การพับที่เกิดขึ้นในยาง ส่งผลให้เกิดแรงดึง (tension) และยางจะถูกดึงไปยังขอบยางอีกฝั่ง
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียลมระหว่างขอบยางและ rim bed ที่เรียกว่า tyre burping
Contact patch ของขอบล้อกว้างที่อยู่ภายใน rim flanges (หน้าแปลนขอบล้อ) ผนังด้านข้างของยางจะถูกซัพพอร์ตโดยขอบล้อที่ออกแบบมาให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุม (control) ดังนั้นขอบล้อที่กว้างขึ้น จะช่วยให้นักปั่นสามารถขับขี่ได้ด้วยแรงดันลมที่ต่ำกว่าขอบล้อแคบ
แรงดันลมยางต่ำกว่า (LOWER AIR PRESSURE)
ความต้านทานการหมุนน้อยกว่า (LESS ROLLING RESISTANCE)
ล้อที่มีแรงดันลมยางต่ำจะสามารถกลิ้งตัวบนสภาพทางขรุขระได้ง่ายกว่าล้อที่มีแรงดันลมสูง
เพราะยางสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นดินได้
แต่ล้อที่มีแรงดันลมสูงไม่สามารถปรับตัวให้เข้าสภาพทางขรุขระได้
ส่งผลให้จักรยานเกิดการกระเด้งและลอยตัวขึ้น ทำให้ความต้านทานการหมุนมีมากขึ้น
ดังนั้นการใช้ล้อที่มีแรงดันลมที่น้อยลงจะทำให้ปั่นนักเหนื่อยน้อยลงเพราะไม่ต้องออกแรงมากจนเกินความจำเป็น