กินเพื่อชัย ตอนที่ 2 | ARTICLES | AsiaBike (asiabike.com )
Find a retailer CustomerRegister History Subscribe CALL CENTER +66 81 133 0063
 


ARTICLES

Promotion !!

Event & NEWS

innovation

  » BMC Innovations

  » Vittoria Innovations

  » BH Innovations

  » Ridley Innovations

  » HOPE Innovations

  » DT Swiss Innovations

  » Reynold Innovations

  » Look Innovation

  » Lameda Innovation

  » EKOI Innovations

  » LIMAR Innovation

  » FAST Innovation

  » Corima Innovation

Product Review

Technique

  » Elite Trainer

กินเพื่อชัย ตอนที่ 2
ผู้แต่ง อ.ปราจิน รุ่งโรจน์  , 31/08/2011 09:00 , ผู้ชม 4166 , หัวข้อ : Technique

กินเพื่อชัย ตอนที่ 2

Eat to Win Part 2

2. อาหารระหว่างการแข่งขัน(Nutrition during competition)
               ปกตินักกีฬาจะไม่กินอาหารระหว่างการแข่งขัน  เพราะมีปัญหาเรื่องการย่อย  ดังนั้นอาหารที่กินจึงอยู่ในรูปของเครื่องดื่มที่มีกลูโคส หรือสารคาร์โบไฮเดรตตัวอื่นๆ  สำหรับเครื่องดื่มเหล่านี้ควรระวังไม่ให้มีน้ำตาลมากเกินไป (รสหวานจัด)  เพราะจะมีปัญหาเรื่องการดูดซึม  และเกิดอาการท้องอืด  แน่น  จุกเสียด  หรือ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปกติความเข้มข้นของน้ำตาลไม่ควรเกิน 2. 5%  ซึงเป็นปริมาณที่น้อยมาก ถ้าคิดในแง่ของการเสริมพลัง  ผู้เชียวชาญบางคนจึงแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าแทน  โดยเฉพาะการแข่งขันที่ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงครึ่ง มีการสูญเสียของพลังงานและเกลือแร่ยังไม่มาก  การดื่มน้ำเปล่าชดเชยก็เป็นที่เพียงพอ  แต่ในการแข่งขันจักรยานทางไกล เครื่องดื่มเกลือแร่อาจเข้ามามีบทบาทมากขึ้น (ต้องชดเชยการเสียเหงื่อ) ทั้งน้ำดื่มและเครื่องดื่มเกลือแร่ควรแช่เย็นก่อนกินจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความร้อนในร่างกาย  อันเกิดจากการออกกำลังกาย  การเติมเชื้อเพลิงที่พร่องไปจากคาร์โบไฮเดรตหลังจากขี่ไปแล้ว 60 นาทีหรือมากกว่า การเติมพลังระหว่างการออกกำลังกายจะช่วยรักษากลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อช่วยส่งกลูโคสไปให้กล้ามเนื้อสร้างพลังงาน นั่นคือประโยชน์ของโภชนาการที่ช่วยให้นักกีฬาจักรยานมีสมรรถภาพสูงสุด สามารถมีแรงปั่นแข่งขันได้ตลอดระยะทางที่ใช้แข่งขันครับ
    
3. อาหารหลังการแข่งขัน
               การกินอาหารหลังการแข่งขันไม่มีข้อจำกัดอย่างใด  หลักใหญ่คือ  พยายามกินชดเชยพลังงานที่ใช้ไปตลอดจนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียในระหว่างการแข่งขัน ตัวอย่างการแข่งขันจักรยานทางไกล “Tour de France” เป็นการแข่งขันที่ใช้เวลายาวนานในแต่ละช่วง (Stage) และกว่าจะแข่งครบทุกช่วงใช้เวลาในการแข่งขัน 3 สัปดาห์  เนื่องจากเป็นการแข่งขันที่ยาวนานนักปั่นแต่ละคนต้องใช้พลังงานในการปั่นเป็นจำนวนมาก แต่ละปีนักจักรยานที่เข้าร่วมการแข่งขันที่ไม่แข็งแรงพอ หรือรับประทานอาหารไม่ถูกส่วน (พลังงานที่ใช้กับอาหารที่รับประทานต้องเหมาะสมกับระยะทางแต่ละช่วง stage)  มิเช่นนั้นนักกีฬาก็จะหมดแรงปั่นเพราะสภาพเส้นทางและระยะการแข่งขันที่ยาวไกลมีขึ้นลงเขาตลอดทาง  อีกทั้งความเร็วที่ใช้แข่งขันมีความเร็วสูง  ฉะนั้นการเผาผลาญพลังงานของร่างกายก็สูงตามไปด้วย ว่ากันว่าพลังงานที่นักจักรยานแข่ง Tour de France  จะใช้มากถึง 8,600 แคลอรี ฉะนั้นการกินอาหารทั้งก่อนการแข่งขัน  ระหว่างการแข่งขัน และหลังการแข่งขันเป็นสิ่งสำคัญ ทีมแข่งแต่ละทีม จึงต้องมี  “เชฟและนักโภชนาการ”  คอยจัดทำอาหารให้กับนักปั่นให้รับประทานอย่างถูกสัดส่วนและสมดุลกับการแข่งขันด้วยความเข้มงวด เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานในการปั่นจักรยาน ยกตัวอย่าง รอน  คีฟ  เฟ่น นักปั่นดังของทีม “โมโตโลล่า”ในอดีต  เขาต้องบริโภคอาหารที่ให้พลังงานดังตาราง

          จากตารางแสดงการใช้พลังงานจากสารอาหาร “คาร์โบไฮเดรต 73 % ไขมัน 16 % โปรตีน 11 % ในการปั่นแข่งขันแต่ละครั้ง นักกีฬาชั้นยอดที่มีความแข็งแรงเท่าๆกัน และมีการบริโภคอาหารที่ได้สัดส่วนเหมาะสม มีโอกาสจะเป็นผู้ชนะมากกว่า เพราะคุณมีพลังงานป้อนให้กับกล้ามเนื้อที่ต้องทำงานหนักได้ตลอดเวลาของการแข่งขันนั่นเอง

          จะกินคาร์โบไฮเดรตเมื่อไร ? เมื่อวิเคราะห์การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตจะมีกระบวนย่อยสลายเป็นสารอาหารได้ง่ายที่สุด แต่หลังจากที่เราฝึกซ้อมหนัก  หรือแข่งหนัก พบว่าระดับอินซูลินในเลือดลดต่ำลง  ฉะนั้นกล้ามเนื้อต้องการไกลโคเจนเพิ่ม  เพื่อจะรักษาระดับอินซูลินในเลือดให้คงที่(น้ำตาลในเลือด) ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ อินซูลินก็จะกลับมาสูงอีกครั้ง  ซึ่งเป็นการยืดระยะเวลาของการหมดแรงออกไป  เมื่อเราทราบว่าเป็นเช่นนี้ก็สามารถพูดได้ว่า  “ควรกินคาร์โบไฮเดรตหลังการออกกำลังกาย(หนัก) เพื่อจะได้มีไกลโคเจนกลับเข้าสู่กล้ามเนื้อได้เร็วที่สุด”  มีกฎทั่วไปว่า “คุณต้องดื่ม กิน คาร์โบไฮเดรตทุกครั้งหลังการแข่งขัน หรือฝึกซ้อม มันเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่ต้องกระทำ” โดยเฉพาะการบริโภคคาร์โบไฮเดรตสูงก่อนการแข่งขัน 2-3 วันจะทำให้กล้ามเนื้อและตับสามารถเก็บสะสมไกลโคเจนได้อย่างสมบูรณ์แบบ เรียกว่ามีพลังงานฝากไว้กับ “ธนาคารแรง” เพียงพอต่อการแข่งขันที่กำลังจะมาถึงครับ   
       
         สรุปว่าเรื่องโภชนาการสำหรับนักจักรยาน เป็นหัวใจสำคัญที่นักจักรยานทุกคนจะต้องพยายามศึกษาหาความรู้และรู้ดีพอๆกับความชำนาญและเชี่ยวชาญในการปั่นจักรยาน  เพื่อพัฒนาศักยภาพร่างกายที่สำคัญในการปั่นจักรยาน ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัย การกินดี  ซ้อมดี มีอุปกรณ์และเทคนิคที่ดี  ผู้เขียนใช้รถแข่ง (ถนน CKTคาร์บอน รถเสือภูเขา WHEELER L.T.D. คาร์บอน รถทั้งสองใส่ใบจานวงรียี่ฮ้อ RIDIA สำหรับฝึกซ้อมและแข่งขัน) ฉะนั้นการรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วน เหมาะสมกับการแข่งขัน และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทั้งก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน และหลังการแข่งขัน ผู้เขียนเชื่อว่าจะทำให้การกินเพื่อชัยชนะ (Eat to win) ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น แต่อย่าลืม! ว่า “วิทยาศาสตร์การกีฬาที่พูดๆกัน ไม่ใช่ยาสารพัดนึกที่จะนำไปบำบัดรักษาโรคต่างๆ (ข้อผิดพลาดทางกีฬา) ในการกีฬาได้เสมอไป เว้นเสียแต่บุคลนั้นมีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ดังกล่าวเป็นอย่างดีเท่านั้น จึงสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแข่งขันจักรยานกีฬาที่คุณรักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Share :

ย้อนกลับ
2016 ASIABIKE warranty Term & Conditions Professionals